ขอเชิญสมัครเข้าร่วม การประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐

ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ประจำปี ๒๕๖๗

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ร่วมกับสมาคมเพลงโคราช สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้  และศูนย์การค้าเซ็นทรัลโคราช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และเชิดชูเพลงโคราช จึงดำเนินโครงการ  การประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีประจำปี ๒๕๖๗

  

ก. ประเภทและรุ่นในการประกวด 

ประเภท

รุ่น

๑.ประเภทประพันธ์กลอนเพลงโคราช

รุ่นประชาชนทั่วไป

๒. ประเภทอนุรักษ์

๑. รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปี (นับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) ชาย-หญิง

๒. รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี (นับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) ชาย-หญิง

๓. ประเภทสร้างสรรค์

รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี(นับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗)

ข. ระเบียบการประกวด

๑. ผู้เข้าร่วมการประกวดประเภทอนุรักษ์สามารถเข้าร่วมการประกวดได้เพียง ๑ รุ่นเท่านั้น 

๒. ผู้เข้าประกวดประเภทอนุรักษ์ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับรางวัลถ้วยพระราชทาน ในรุ่นเดิมที่เคยเข้า ประกวด จากการประกวดเพลงโคราช ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

๓. ผู้เข้าประกวดสามารถเข้าร่วมกิจกรรมรับฟังคำชี้แจงระเบียบการประกวดหรือเข้าร่วมการอบรมเพื่อ พัฒนาความสามารถก่อนการประกวดตามที่กองประกวดจัดขึ้นวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ สำนักศิลปะและ วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รอบชิงชนะเลิศระหว่างวันที่ ๒ - ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ 




ฉ. รางวัลที่จะได้รับ

 

๑. ประเภทประพันธ์กลอนเพลงโคราช

รุ่น

ระดับ

รางวัล

รุ่นอายุประชาชนทั่วไป

รางวัลชนะเลิศ

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท 

และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท 

และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒

ถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล ๑,๕๐๐ บาท 

และเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย ๒ รางวัล

เกียรติบัตร และเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท

 

๒. การประกวดประเภทอนุรักษ์

ถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร ทุกรางวัล แยกประเภท ชายและหญิง โดยเงินรางวัล เป็นรางวัลรวมให้แบ่งครึ่ง  สำหรับชายหญิงที่ได้รับรางวัลนั้นๆ

รุ่น

ระดับ

รางวัล

รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปี

รางวัลชนะเลิศ

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑

ถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท

และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท

และเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย ๒ รางวัล

เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท

รางวัลเยาวชนรักเพลงโคราช

เกียรติบัตร

รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี

รางวัลชนะเลิศ

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๘,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย ๒ รางวัล

เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท

รางวัลเยาวชนรักเพลงโคราช

เกียรติบัตร


 

๓. การประกวดประเภทสร้างสรรค์

รุ่น

ระดับ

รางวัล

รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี

รางวัลชนะเลิศ

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๘,๐๐๐ บาท

และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๗,๐๐๐ บาท

และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒

ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาท

และเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย

เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท

รางวัลพิเศษ ๒ รางวัล

ถ้วยรางวัล เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล

รางวัลละ ๑,๕๐๐ บาท

 

 

ดาวน์โหลดใบสมัคร

 

ระเบียบการประกวด

ใบสมัคร ประเภทประพันธ์กลอนเพลงโคราช ใบสมัคร ประเภทอนุรักษ์ ใบสมัคร ประเภทสร้างสรรค์
(วง Acoustic เพลงโคราช)

 

 

 

ตัวอย่างกลอนเพลงที่ใช้ในการประกวด

กลอนที่ใช้แข่ง

ประเภทอนุรักษ์

กลอนเพลง

เพลงเทิดพระเกียรติ

กลอน รักสถาบัน ชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ ในโอกาส ใช้เป็นเพลงต้นแบบ การประกวดเพลงโคราชครั้งที่ 10

 

 

รายละเอียดการรับสมัคร

๑. รับสมัครตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ โดยสามารถดาวน์โหลดใบ สมัครได้ที่ www.koratculture.com และ www.nrru.ac.th 

๒. ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารที่กำหนดได้ ๔ วิธี ดังนี้

    ๒.๑ ยื่นด้วยตนเอง ที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้ประสานงาน นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๖ – ๗๒๕๙๔๑๔ ในวันและเวลาราชการ ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. 

    ๒.๒ ยื่นด้วยตนเอง ที่สมาคมเพลงโคราชเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

    ๒.๓ ส่งทางไปรษณีย์โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ ส่งที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลขที่ ๓๔๐ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์  ๓๐๐๐๐ วงเล็บมุมซอง สมัครเข้าประกวดเพลงโคราช

    ๒.๔ ส่งใบสมัครทางข้อความผ่านเพจเฟสบุค สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา https://www.facebook.com/NRRUKORATCULTURE

    ๒.๕ ผู้ประสานงานการประกวด 

            ๑. นายบุญสม สังข์สุข เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๗๙ ๒๖๘๖

            ๒. นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๖ – ๗๒๕๙๔๑๔ 

๓. หลักฐานการสมัคร

    ๓.๑ ใบสมัคร ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน สมบูรณ์ 

     ๓.๒ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรข้าราชการ หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดง รายละเอียดและรูปภาพชัดเจนของผู้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

 

 

*** หมายเหตุ*****


ผู้ประสานงานการประกวด 

 ๑. นายบุญสม สังข์สุข เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๗๙ ๒๖๘๖

 ๒. นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๖ – ๗๒๕๙๔๑๔ 

 

หรือ ติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาคาร ๑๐ เลขที่ ๓๔๐ ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ๓๐๐๐๐

โทร ๐๔๔ ๐๐๙ ๐๐๙ ต่อ ๑๐๑๐ www.koratculture.com

หรือทาง Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/NRRUKORATCULTURE

  

 #เพลงโคราช #เพลงโคราช2567
#หมอเพลงโคราช #ถ้วยพระราชทาน
#เพลงโคราชชิงถ้วยพระราชทาน #ครั้งที่10

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการประชุมรายงานความก้าวหน้า พิจารณาเกณฑ์การประกวดและเตรียมความพร้อมในการจัดการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗
.
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประชุมร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗ โดยได้รับเกียรติจาก นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ หรือพ่อกำปั่น บ้านแท่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช) ปี ๒๕๖๔ นายบุญสม สังข์สุข อุปนายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา และที่ปรึกษาสมาคมเพลงโคราช และนายปัณณธร วิศุพิทินกร นายกสมาคมเพลงโคราช ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
.
โดยการประชุมครั้งนี้เพื่อรายงานความกว้าหน้า พิจาณาเกณฑ์การประกวดในประเภทและรุ่นต่างๆให้เป็นไปตามความเหมาะสม และเตรียมความพร้อม ในการดำเนินการประกวดดังกล่าว ทั้งรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
โดยแบ่งการประกวดเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
- การประกวดประพันธ์กลอนเพลงโคราช ไม่จำกัดอายุ
- การประกวดเพลงโคราชประเภทอนุรักษ์ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปี และรุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
- การประกวดเพลงโคราชประเภทสร้างสรรค์ รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
.
โดยการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗ จะดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม ๒๕๖๗ ดำเนินการโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สมาคมเพลงโคราช สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ และศูนย์การค้า เช็นทรัล โคราช
 
 
สำนักศิลปะฯ ร่วมวางแนวทางในการออกแบบชุดสำหรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา
.
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ เข้าร่วมประชุมกับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหารือร่วมกับหน่วยงานด้านแฟชั่น กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอพื้นถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจ หอการค้า และผู้ประกอบการ เพื่อร่วมกันวางแนวทางในการออกแบบชุดสำหรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้เปิดโอกาสให้นักออกแบบ และคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ร่วมกันนำเสนอแบบที่จะผลิตขึ้นจากผ้าทอพื้นถิ่นโคราช เป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ของจังหวัดนครราชสีมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ของท้องถิ่น
.
โดยพร้อมกันนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา วรรธนะปกรณ์ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานออกแบบชุดเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกในโอกาสนี้ด้วย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ เข้าร่วมการประชุมหารือ การสำรวจพื้นที่ ที่สมัครเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ "TCDC" ณ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมท้าวสุรนารี ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ย่านถนนจอมพล

 
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอแสดงความยินดีกับ
" วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา"
ในการเข้ารับรางวัลพระราชทาน “รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม”
 
.
ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี ๒๕๖๕ โดยวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี ๒๕๖๕ ประเภท ค. บุคคลหรือองค์กร อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เรียนเชิญวิสาหกิจชุมชนเข้ารับรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ
.
สำหรับวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวบ้านปรางค์นคร อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรที่ดำเนินงานเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านปรางค์นคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์ ซึ่งเป็นปราสาทหินในที่เก่าแก่ โดยได้จุดประกายให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของเรือนไม้พื้นถิ่นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในลักษณะเฉพาะของชาวโคราช ในฐานะอัตลักษณ์สำคัญที่ควรจะต้องช่วยกันรักษาไว้ร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีในด้านอื่นๆ ของชาวไทยโคราช แม้จะเริ่มต้นด้วยเป้าหมายทางการท่องเที่ยว แต่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์บ้านเรือนต่างๆ ในชุมชนขึ้น และเปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจโดยทั่วไป โดยเป็นการอนุรักษ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังและความสมัครใจของผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนแต่ละหลัง
.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้สนับสนุนคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย อาทิ อาจารย์ณภัค คณารักษ์เดโช ประธานหลักสูตรการตลาด คณะวิทยาการจัดการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุฒิ ใจอดทน อาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์ชุมชนอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งหนุนเสริม
.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอร่วมแสดงความยินดีกับผลงานการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของ "วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา" ซึ่งสามารถธำรงรักษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้ให้เป็นความภาคภูมิใจของชาวโคราช