วันจักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี

เป็นวันที่ระลึกถึงเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย

 

 ดร.ชุมพล ชะนะมา เข้ารับรางวัลพชรกุญชร

 
ผู้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านศิลปะการแสดง
.
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ดร.ชุมพล ชะนะมา รองผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้ารับรางวัลพชรกุญชร ประจำปี ๒๕๖๗ ในฐานะผู้สร้างคุณประโยชน์ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัล โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวันอนุรักษ์มรดกไทยและสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ จัดโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

 

๕ เมษายน
วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี
ทรงพระเจริญ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารพร้อมด้วยบุคลากร
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 

สนุกสนาน! นักเรียนสาธิตฯ ทัศนศึกษา พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโคราช
.
บรรยากาศสนุกสนาน เมื่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมสร้างภาคฤดูร้อน โดยได้รับการต้อนรับจาก นายพรมงคล นาคดี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นนักสื่อความหมาย พาน้องๆ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโคราช
.
น้องๆ นักเรียน ต่างตื่นตาตื่นใจกับนิทรรศการต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ได้ชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโคราชในอดีต สร้างความประทับใจให้นักเรียนได้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
.
กิจกรรมทัศนศึกษา ครั้งนี้ นับเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าสำหรับนักเรียน ช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโคราช เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านและใฝ่หาความรู้ต่อไป

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รับเชิญจากกองกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาให้เป็นคณะกรรมการพิจารณาและให้คำแนะนำการพัฒนาร่วมกัน (การนำเสนอโครงการย่อย) ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ตัวแทนนักศึกษา ทั้ง 5 ทีม นำเสนอแผนการพัฒนากลุ่มชุมชน พร้อมทั้งตอบคำถาม และรับการพิจารณาจากคณะกรรมการอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่จากมหาวิทยาลัยมาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดศักยภาพ เพิ่มมูลค่า และตอบสนองความต้องการของตลาด
.
ภาพ งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา