สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการประชุมรายงานความก้าวหน้า พิจารณาเกณฑ์การประกวดและเตรียมความพร้อมในการจัดการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗
.
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประชุมร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗ โดยได้รับเกียรติจาก นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ หรือพ่อกำปั่น บ้านแท่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช) ปี ๒๕๖๔ นายบุญสม สังข์สุข อุปนายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา และที่ปรึกษาสมาคมเพลงโคราช และนายปัณณธร วิศุพิทินกร นายกสมาคมเพลงโคราช ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
.
โดยการประชุมครั้งนี้เพื่อรายงานความกว้าหน้า พิจาณาเกณฑ์การประกวดในประเภทและรุ่นต่างๆให้เป็นไปตามความเหมาะสม และเตรียมความพร้อม ในการดำเนินการประกวดดังกล่าว ทั้งรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
โดยแบ่งการประกวดเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
- การประกวดประพันธ์กลอนเพลงโคราช ไม่จำกัดอายุ
- การประกวดเพลงโคราชประเภทอนุรักษ์ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปี และรุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
- การประกวดเพลงโคราชประเภทสร้างสรรค์ รุ่นอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
.
โดยการประกวดเพลงโคราช ครั้งที่ ๑๐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๗ จะดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม ๒๕๖๗ ดำเนินการโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สมาคมเพลงโคราช สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ และศูนย์การค้า เช็นทรัล โคราช
 
 
สำนักศิลปะฯ ร่วมวางแนวทางในการออกแบบชุดสำหรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา
.
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ เข้าร่วมประชุมกับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหารือร่วมกับหน่วยงานด้านแฟชั่น กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอพื้นถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจ หอการค้า และผู้ประกอบการ เพื่อร่วมกันวางแนวทางในการออกแบบชุดสำหรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้เปิดโอกาสให้นักออกแบบ และคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ร่วมกันนำเสนอแบบที่จะผลิตขึ้นจากผ้าทอพื้นถิ่นโคราช เป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ของจังหวัดนครราชสีมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ของท้องถิ่น
.
โดยพร้อมกันนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา วรรธนะปกรณ์ หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานออกแบบชุดเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกในโอกาสนี้ด้วย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ เข้าร่วมการประชุมหารือ การสำรวจพื้นที่ ที่สมัครเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ "TCDC" ณ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมท้าวสุรนารี ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ย่านถนนจอมพล

 
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอแสดงความยินดีกับ
" วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา"
ในการเข้ารับรางวัลพระราชทาน “รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม”
 
.
ตามที่สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี ๒๕๖๕ โดยวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี ๒๕๖๕ ประเภท ค. บุคคลหรือองค์กร อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เรียนเชิญวิสาหกิจชุมชนเข้ารับรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ
.
สำหรับวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวบ้านปรางค์นคร อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นองค์กรที่ดำเนินงานเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านปรางค์นคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์ ซึ่งเป็นปราสาทหินในที่เก่าแก่ โดยได้จุดประกายให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของเรือนไม้พื้นถิ่นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในลักษณะเฉพาะของชาวโคราช ในฐานะอัตลักษณ์สำคัญที่ควรจะต้องช่วยกันรักษาไว้ร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีในด้านอื่นๆ ของชาวไทยโคราช แม้จะเริ่มต้นด้วยเป้าหมายทางการท่องเที่ยว แต่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์บ้านเรือนต่างๆ ในชุมชนขึ้น และเปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจโดยทั่วไป โดยเป็นการอนุรักษ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังและความสมัครใจของผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนแต่ละหลัง
.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้สนับสนุนคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย อาทิ อาจารย์ณภัค คณารักษ์เดโช ประธานหลักสูตรการตลาด คณะวิทยาการจัดการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุฒิ ใจอดทน อาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์ชุมชนอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งหนุนเสริม
.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขอร่วมแสดงความยินดีกับผลงานการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของ "วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านปรางค์นคร อ.คง จ.นครราชสีมา" ซึ่งสามารถธำรงรักษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้ให้เป็นความภาคภูมิใจของชาวโคราช

 

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต้อนรับ คณะทัศนศึกษาดูงานจากโรงเรียนเมธาพัฒน์ จำนวน 200 คน เพื่อเข้าเยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ฝ่ายมัธยม โดยเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองโคราชพร้อมรับฟังการบรรยาย เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโคราช และเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น โดยเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรักการอ่านและใฝ่หาความรู้ต่อไป
📌 พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ชั้น 2 พิกัด https://goo.gl/maps/EE67GiXb6YZWVNQw7
📌 เรือนพ่อคง เรือนโคราช พิกัด https://goo.gl/maps/sd8mfnGCvD1wviWc8
☎️สอบถามเพิ่มเติม โทร 044-256097 044-009009 ต่อ 1011