ผอ.สำนักศิลปะฯ รับหน้าที่ร่วมคัดสรรสุดยอด OTOP นครราชสีมา
.
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ โครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion : OPC) จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2567 ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
.
การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาระดับประเทศ จัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างคุณค่า และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยดำเนินการระดับจังหวัด ร่วมกับ ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ พิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ โดยจังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป้าหมายในการกลั่นกรอง คัดเลือกผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าสู่กระบวนการคัดสรรฯ และขอรับการรับรองมาตรฐานในระดับประเทศ จำนวน 419 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้ความสนใจลงทะเบียน เข้ารับการคัดสรร รวมทั้งสิ้น 431 รายการ

สำนักศิลปะฯ ร่วมจัดทำหนังสือจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
.
วันนี้ (๙ กันยายน ๒๕๖๗) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมประชุม คณะทำงานจัดทำหนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ ๑ โดยได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธาน
.
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรขา อินทรกำแหง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับ อาจารย์ชมชนก ธนาวีราภรณ์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย อาจารย์วุฒินันท์ ชัยศรี ประธานสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนายพรมงคล นาคดี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร่วมเป็นคณะทำงานในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว
.
โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในการค้นคว้าและศึกษาพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลการออกแบบรูปเล่ม (Artwork) และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ดำเนินการในส่วนของการเรียบเรียงเนื้อหา และตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

.
ขอแสดงความยินดีกับ นายชุตินันท์ ทองคำ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมการสื่อสาร
ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งมงกุฎไทย "ตริตาภรณ์มงกุฏไทย" ประจำปี 2567

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

.
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ชุมพล ชะนะมา รองผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและเครือข่ายสัมพันธ์
ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งมงกุฎไทย "ตริตาภรณ์มงกุฏไทย" ประจำปี 2567

 

 

โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ “สืบศาสตร์สานศิลป์ มรดกภูมิปัญญาปราชญ์แผ่นดิน ศิลปินแห่งชาติ”
.
ใครยังไม่กรอกใบสมัครต้องรีบหน่อยนะครับ ⏩⏩⏩
**************************************
ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
“สอนศิลป์ ถิ่นกวี ขับกล่อมดนตรีพื้นบ้าน ร่วมสานงานศิลปวัฒนธรรม เมืองโคราช” #อบรมฟรี 14 หลักสูตร กับ 17 ศิลปินแห่งชาติ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี!
.
ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา