โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมด้วยการยกระดับแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมต่อการสร้างอัตลักษณ์และจุดเน้นที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มหกรรมศิลปวัฒนธรรมโคราช “เต๊อะเติน เพลินภูมิ")


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมด้วยการยกระดับแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมต่อการสร้างอัตลักษณ์และจุดเน้นที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหกรรมศิลปวัฒนธรรมโคราช “เต๊อะเติน เพลินภูมิ” ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับ “พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เพียงแห่งเดี่ยวเล่าเรื่องประวัติศาสตร์เมืองนครราชสีมาได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของทั้งมหาวิทยาลัยและจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกิจกรรมหลากหลายภายในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. กิจกรรมทำบุญตักบาตรวิถีไทย
2. กิจกรรมพิธีเปิดอุทยานการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมโคราช (พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เรือนโคราช)
3. กิจกรรม “หนังสือวัฒนธรรมมีชีวิต บอกเล่าอดีต สู่ปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต” โดยนักเขียน นักแต่ง ผู้ทรงคุณค่า ผ่านระบบออนไลน์ ณ แหล่งเรียนรู้ KACL ห้องสมุดสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
4. กิจกรรมการประกวดหมอเพลงโคราช ครั้งที่ 7 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564
5. กิจกรรมการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย “ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน”
6. กิจกรรมตลาดนัดศิลปวัฒนธรรม “กลางเดิ่นเรือนโคราช
การในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ ปลูกฝังค่านิยม และสำนึกในท้องถิ่นและความเป็นไทยให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันเป็นเป้าหมายและอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา
โดยเน้นผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงชุมชนและภาคีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน และนักท่องเที่ยว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป รวมถึงชุมชนอื่นๆ และภาคสังคมที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกต่อการดำเนินโครงการ ก่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลินและมีความสุข ตลอดจนความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม รวมถึงรับรู้ภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ