top
 
 
       
งานประกันคุณภาพ  
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ  
 
ประวัติความเป็นมา  
 
 
 
คณะกรรมการบริหาร  
บุคลากรประจำสำนักงาน  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2554  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2555  
 
รายงานประเมินตนเองปี 2556  
 
CHE QA Online 2555  
 
CHE QA Online 2556  
 
การจัดการความรู้ ปี 2555  
 
การจัดการความรู้ ปี 2556  
 
เว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  
       

 

 

 

 

 

 



งานประกันการศึกษาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมปีการศึกษา

ประจำปี 2555

องค์ประกอบที่  6   การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1.1 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม (สมศ.10)

ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ นางวิลาวัลย์  วัชระเกียรติศักดิ์

โทรศัพท์ :  089 - 7227734

ผู้จัดเก็บข้อมูล : 
1. นายชุตินันท์  ทองคำ
2. นางสาวสมฤทัย  ปิยะรัตน์
3. นายสุรชัย  เดชชัยพิทักษ์

โทรศัพท์ : 
1. 083 – 129 9983
2. 088 – 356 78866
3. 086 – 725 9414

เกณฑ์การประเมิน


คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ
1 ข้อ

มีการดำเนินการ
2 ข้อ

มีการดำเนินการ      3 ข้อ

มีการดำเนินการ
4 ข้อ

มีการดำเนินการ      5 ข้อ

ผลการประเมินตนเอง


เป้าหมายการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

ผลการประเมินตนเองเทียบกับ            ค่าเป้าหมาย

5 ข้อ

5 ข้อ

5 คะแนน

บรรลุ

 

ข้อ

เกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน

1.

มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA)

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มีการดำเนินงานในโครงการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. Plan หรือการวางแผน สำนักฯ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏตามแผนงบประมาณแผ่นดินปี 2555 อนุมัติครั้งที่ 1 (สวธ. 6.1.1-1)
  2. Do หรือการปฏิบัติ สำนักฯ มีการวางแผนและดำเนินงานตามโครงการ โดยมีกรอบการดำเนินงานตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ 1604/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการตักบาตรวันพุธ (สวธ. 5.2.4-2)
  3. Check หรือการตรวจสอบ สำนักฯ มีกระบวนการในการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและรายงานผลความพึงพอใจดังปรากฏในรายงานสรุปโครงการฯ (สวธ. 5.2.4-2)
  4. Action หรือการดำเนินการให้เหมาะสม สำนักฯ มีการสรุปผลการดำเนินงานโดยมีผลการดำเนินงานเฉลี่ย (Mean) อยู่ที่ 4.85 และมีผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมในระดับ “มากที่สุด” จากผลการดำเนินงานดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม (สวธ. 5.2.4-2)

 

สวธ. 6.1.1-1

สวธ. 6.1.1-2

 

สวธ. 6.1.1-2

 

สวธ. 6.1.1-2

 

แผนงบประมาณ 2555 อนุมัติครั้งที่ 1


รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ


รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : แบบประเมินผล และสรุปผลการประเมิน
รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : รายงานสรุปการประเมินผลโครงการฯ

2

บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

การกำหนดเป้าหมายหรือผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ “ตักบาตรวันพุธ” ตามโครงการที่ได้เสนอต่อมหาวิทยาลัยทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพมีรายละเอียดดังนี้

  1. มีการดำเนินกิจกรรมในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2555 ไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง ซึ่งตรงกับการดำเนินงาน 31 ครั้ง ซึ่งบรรลุตามเป้าหมาย ร้อยละ 103.33เฉลี่ย (สวธ. 5.2.4-2)
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก มีความพึงพอใจในการดำเนินงานเฉลี่ย (Mean) อยู่ที่ 4.85 หรือร้อยละ 97.00 ซึ่งบรรลุเป้าหมายเกินร้อยละ 80 เช่นกัน (สวธ. 5.2.4-2)

 

สวธ. 6.1.1-2

 

รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : รายงานสรุปการประเมินผลโครงการฯ

3

มีการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

สำนักฯ มีกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ “ตักบาตรวันพุธ” สำนักฯ ได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 ถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกว่า 13 ปี (สวธ. 6.1.1-2)

สวธ. 6.1.1-2

รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : ภาพประกอบกิจกรรม และสรุปประเด็นธรรมเทศนาในแต่ละสัปดาห์

4

เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนภายใน/ภายนอก

สำนักฯ ได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 ถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกว่า 13 ปี โดย มีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมคือ นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์แยกตามกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้

  1. บุคลากรภายใน ประกอบด้วย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เกิดจริยธรรมในการดำเนินชีวิต อันจะหล่อหลอมให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง และเมื่อเกิดความขัดแย้งก็สามารถหาขอยุติได้อย่างมีสติและไร้ความรุนแรง โดยกิจกรรมไม่ได้มีเพียงแค่การทำบุญตักบาตร แต่ยังมีการ “แสดงธรรมเทศนา” ในมิติต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ธรรมะสำหรับวัยรุ่น หน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา การเป็นนักศึกษาที่ดี ความมีน้ำใจ ธรรมะในที่ทำงาน ธรรมะกับการเรียน การฝึกสมาธิ ฯลฯ
  2. บุคคลภายนอก ประกอบด้วย นักเรียน และชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย นอกเหนือจากชุมชนจะได้รับธรรมะในการดำเนินชีวิตจากหัวข้อของธรรมเทศนาแล้ว กิจกรรมการทำบุญตักบาตร ยังเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดพฤติกรรมการเป็น “ผู้ให้” หรือเกิด “สมาธิ” แต่ แต่ยังมีการสอดแทรกความรู้ในแง่มุมต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับจิตใจ และสติของผู้ร่วมกิจกรรมก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อคนในชุมชน ช่วยให้การดำเนินชีวิตเต็มไปด้วย “สติ” และ “การเป็นผู้ให้” อันจะผลสะท้อนทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการลดปัญหาและความขัดแย้งกันของสังคมในปัจจุบัน (สวธ. 6.1.1-2)

สวธ. 6.1.1-2

รายงานสรุปโครงการตักบาตรวันพุธ : โครงการ วัตถุประสงค์ ผลที่จะได้รับ แหล่งงบประมาณ และสรุปการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

5

ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือนานาชาติ

สำนักฯ ได้รับรางวัลยืนยันความสำเร็จในการเผยแพร่ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมากมาย จากการดำเนินงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการตักบาตรวันพุธ โครงการอบรมเสวนาเรื่อง “การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย” และโครงการค่ายคุณธรรมการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท นับเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสำนักฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ได้รับการคัดเลือกจากส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มปานกลาง (สวธ. 6.1.1-3)
  2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบรางวัล หน่วยงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น เนื่องจากผลงานด้านการเป็นตัวกลางสำคัญในการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ศิลปะ ประเพณี และศาสนา อย่างต่อเนื่อง (สวธ. 6.1.1-4)

 

สวธ. 6.1.1-3

 

สวธ. 6.1.1-4

 

หนังสือราชการจากกระทรวงวัฒนธรรมที่ วธ 0507.5/ว 4789 เรื่องโครงการศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชในพื้นที่ทั่วประเทศ ประจำปี 2555
 


รางวัลจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

รายละเอียดผลการดำเนินงาน

จุดแข็ง

  1. สำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานตามวงจรคุณภาพ (PDCA)
  2. ผลการดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ บรรลุเป้าหมายตามแผนและวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมเกินร้อยละ 80 โดยเฉพาะเป้าหมายเชิง

คุณภาพ

  1. การดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อคนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
  2. การดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ได้สร้างผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนหรือสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
  3. การดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ได้รับการยกย่องระดับชาติ โดยได้รับการยืนยันในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น ได้รับรางวัล และมีผลงานเป็นที่

ประจักษ์ยอมรับ และการเป็นศูนย์กลางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย

แนวทางเสริม
ตัวชี้วัดหลายๆ ตัวของตัวบ่งชี้นี้ค่อนข้างเป็นเรื่องนามธรรม ผู้ปฏิบัติต้องสร้างเครื่องมือตลอดจนกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม และมีตัวชี้วัดเชิงปริมาณอย่างเหมาะสม

จุดอ่อน
-

แนวทางแก้ไข
-

 

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทร 044-253097, 044-242158 ต่อ 1216 โทรสาร 044-244739