ประวัติส่วนตัว
ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์
ผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
การศึกษา
1 ปริญญาเอก กจ.ด. (การจัดการการสื่อสาร) (ดุษฎีนิพนธ์ยอดเยี่ยม) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2 ปริญญาโท บธ.ม. (การตลาด) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
3 ปริญญาตรี ศศ.บ. (นิเทศศาสตร์) สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
3 Certificate “Strategic Management” University of California, Berkeley USA
4 Certificate “English for Academic and Research Communication” (Higher Intermediate Level) The University of Queensland, Australia
ประวัติการรับราชการ
1.1 บรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอาจารย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541
1.2 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาการตลาด
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2549
ปัจจุบันเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สายวิชาการ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ประวัติด้านการบริหาร
2545 หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ
2545 รองประธานศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ
2551-2553 ประธานโปรแกรมวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ วาระที่ ๑
2549-2555 รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครราชสีมา
2551-2554 รองประธานหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
2552-2554 ประธานหลักสูตร บริหารธุรกิจ (การตลาด)
2554-2559 ประธานโปรแกรมวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ วาระที่ ๒
2555-2559 ประธานหลักสูตร นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
2556-2560 ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครราชสีมา วาระที่ 1
2560-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏนครราชสีมา วาระที่ 2
******************************************
1. ผลงานวิชาการ
๕.๑ งานวิจัย
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2553). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในแหล่งอารยธรรมตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2554). การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
5.2 เอกสาร ตำรา
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2550). หลักการตลาด. นครราชสีมา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2559). การเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่. นครราชสีมา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. นครราชสีมา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์. (2559). การจัดการการสื่อสารทางการตลาด. นครราชสีมา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
- รางวัลชนะเลิศ (ระดับชาติ) การแข่งขันแผนธุรกิจชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๔ “BrandAge Award 2010”
- รางวัลรองชนะเลิศ (ระดับชาติ) การแข่งขันแผนธุรกิจชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๖ “BrandAge Award 2012”
- ผลงานวิชาการ (เอกสาร, ตำรา และบทความวิชาการ)
- เอกสารประกอบการสอนวิชา “หลักการตลาด”
- ตำราวิชา “พฤติกรรมผู้บริโภค”
- ตำราวิชา “การสื่อสารทางการตลาด”
- หนังสือ “เพลงโคราชเฉลิมพระเกียรติฯ เล่ม ๑ – ๒” (คณะกรรมการดำเนินงาน)
- บทความวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เช่น วารสารวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รวมถึงบทความในสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์ และวารสารวิชาชีพต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ผลงานด้านการวิจัย
๒๕๔๕ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและความเป็นไปได้ของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารผสมแป้งบุก (แหล่งทุน: พวส.)
๒๕๔๗ การพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Industrial Cluster Development) แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากสุกร
๒๕๔๙ กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการสื่อสารต่อการส่งเสริมการใช้ผ้าไหมไทยของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ดุษฎีนิพนธ์ยอดเยี่ยม)
๒๕๕๐ การศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังวัดนครราชสีมา (แหล่งทุน: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)
๒๕๕๑ การพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ อบต. ในกลุ่มอีสานใต้ (แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว.)
๒๕๕๒ การศึกษาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลพลสงคราม เพื่อรองรับการพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (แหล่งทุน: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)
๒๕๕๓ แผนงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในแหล่งอารยธรรมตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง” (แหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.) ประกอบด้วย ๔ โครงการวิจัย คือ
๑. การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนแหล่งอารยธรรมอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
๒. บ้านธารปราสาท เนินอุโลก บ้านโนนวัด... จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การจัดการท่องเที่ยวตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
๓. การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาต่อการส่งเสริมศักยภาพเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของ ชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
๔. การ พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในแหล่งท่อง เที่ยวเชิงอารยธรรม จังหวัดนครราชสีมาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลงานด้านสังคม
- คณะกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
- คณะกรรมการพัฒนา “พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำมูลตอนต้น (โนนสูง-นครราชสีมา)”สู่การเป็นมรดกโลก
- คณะกรรมสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงวัฒนธรรม (ด้านวิชาการ)
- คณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
- รางวัลและการแข่งขัน
- ชนะเลิศการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ชิงแชมป์ประเทศไทย “ซีคอนแสคว์เชียร์ลีดเดอร์ ๒๐๐๐”
- รองชนะเลิศการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ชิงแชมป์ประเทศไทย “ซีคอนแสคว์เชียร์ลีดเดอร์ ๒๐๐๑”
- รางวัลชมเชยการแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์ชิงแชมป์ประเทศไทย “ซีคอนแสคว์เชียร์ลีดเดอร์ ๒๐๐๒”
วิสัยทัศน์และแนวทางในการพัฒนาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์ มีความตั้งใจที่จะเสนอตนเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยจะนำเสนอนโยบายการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้กระบวนทัศน์ (Paradigm) “วัฒนธรรมสร้างสรรค์” หรือ “CulturalCreative” ซึ่งหมายถึง การนำเอาเอกลักษณ์วัฒนธรรม หรือต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดการอนุรักษ์ หวงแหน และเชิดชูในศิลปะและวัฒนธรรมด้วยความเต็มใจ สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ดังปรากฏตามภาพประกอบ) อันมีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาและสอดรับกับภารกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ต่อการทำหน้าที่สืบทอด อนุรักษ์ และสร้างจิตสำนึกด้านศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
นโยบายที่ ๑ การเรียนรู้วัฒนธรรม
(Cultural Learning)
การส่งเสริมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม คือ ภารกิจหลักของสำนักฯ ในการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ จังหวัด และมหาวิทยาลัย โดยสำนักฯ ต้องเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนรู้จากต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
๑. พัฒนาหลักสูตรทางวัฒนธรรมศาสตร์ รวมถึงหลักสูตรอบรมระยะสั้นด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๒. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมครบวงจร โดยเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก เช่น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่มีอย่างมากมายในจังหวัดนครราชสีมา
๓. ส่งเสริม เชิดชู ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบพิพิธภัณฑ์โคราช ประกอบด้วย หอวัฒนธรรม ห้องปริวรรตเอกสารโบราณ และซุม (คุ้ม) บ้านโคราช โดยส่งเสริมร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งใหม่ของจังหวัดภูมิภาค
๔. ส่งเสริม เชื่อมโยง งานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในระดับชาติและนานาชาติ โดยเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการนำผลงานวิจัยไปใช้กับชุมชน
๕. พัฒนาระบบการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม รวมถึงสื่อมัลติมีเดีย
นโยบายที่ ๒ การมีส่วนรวมทางวัฒนธรรม
(Cultural Participation)
การปลูกจิตสำนึกอันจะนำไปสู่พฤติกรรมการอนุรักษ์ หวงแหนและเชิดชู ศิลปะและวัฒนธรรมอย่างแท้จริงนั้น หัวใจสำคัญ คือ “การมีส่วนร่วม” โดยมีเป้าหมายที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย และชุมชน ให้เกิดการรับรู้ เรียนรู้ และเชิดชูในศิลปะและวัฒนธรรม
๑. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรอย่างหลากหลาย ทั่วถึงเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการฝึกอบรม กิจกรรมทางศาสนา ประเพณี นันทนาการ และเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลถนนวัฒนธรรม
๒. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรม โดยการเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมตลาดนัดวัฒนธรรม (Cultural fair) และกิจกรรมตามประเพณีสำคัญๆ ในระดับจังหวัดหรือชุมชน
๓. จัดตั้งคณะกรรมการมรดกทางวัฒนธรรม ระดับมหาวิทยาลัยและระดับจังหวัด เพื่อดำเนินกิจกรรมทำนุบำรุง ติดตาม และส่งเสริมกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม
นโยบายที่ ๓ นโยบายการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
(Cultural Branding)
มหาวิทยาลัยของเรามีจุดเด่นด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้ คลังความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ ดังนั้นการนำข้อได้เปรียบดังกล่าวมาพัฒนาเป็นจุดเด่น สร้างการจดจำ หรือที่เรียกว่า “อัตลักษณ์” นับเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างการจดจำองค์กรหรือมหาวิทยาลัย
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทร 044-009009 ต่อ 1011 โทรสาร 044-253097
© 2024 koratculture.com