ใบสมัครเข้าร่วม

โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมสืบศาสตร์สานศิลป์มรดกภูมิปัญญาปราชญ์แผ่นดิน ศิลปินแห่งชาติ

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “สอนศิลป์ ถิ่นกวี ขับกล่อมดนตรีพื้นบ้าน ร่วมสานงานศิลปวัฒนธรรม”

ระหว่างวันที่ 3 - 4 กันยายน 2567  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

**********************************

  กรุณาอ่านรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมในการสมัคร
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  
 เบอร์โทรศัพท์ 0-2247-0013 ต่อ 1406 , 1407 หรือ 1408  / Email:  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 
งานนี้เข้าร่วมกิจกรรมฟรี  แต่กิจกรรมในแต่ละฐานมีที่จำกัด รีบสมัครกันเข้ามานะ !!! 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฐานกิจกรรม วิทยากร

ฐานศิลปะ 1 ฝึกอบรมครูศิลปะ / ครูแนะแนว (100 คน)

  • ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์และสื่อผสม) พุทธศักราช 2550
  • นายปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2557
  • นางสาวอารดา  เคนผาพงศ์ ครุศิลปะ รุ่นที่ 10

 ฟฟฟฟฟฟฟฟฟ  กกกกกกกกกกกก  พพพพพพพพพพพพ

 

ฐานศิลปะ 2 เทคนิคจิตรกรรมและสื่อผสม (150 คน)

  • นายทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2548
  • นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2553
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทองไมย์ เทพราม ครุศิลปะ รุ่นที่ 10

     
 ฐานศิลปะ 3 เทคนิคสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ (80 คน)
  • ดร. กมล ทัศนาญชลี  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พุทธศักราช 2540
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมรัตน์ นาคจรัส ครุศิลปะ รุ่นที่ 3
  • นายเศกสรร ผุดผาด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ

     
 ฐานศิลปะ 4 เทคนิคประติมากรรม (30 คน)
  • นายศราวุธ  ดวงจำปา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พุทธศักราช 2560
  • นายประสิทธิ์  วิชายะ ครุศิลปะ รุ่นที่ 1

     
 ฐานศิลปะ 5 ปั้นดินเผาร่วมสมัยคนด่านเกวียน (50 คน)
  • นายเดช นานกลาง
  • นายพิเชษฐ์  ธรรมวัฒน์

     
 ฐานศิลปะ 6 เทคนิคศิลปะผ่านเลนส์ภาพถ่าย (50 คน)
  • นายวรนันทน์  ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พุทธศักราช 2552
  • นางวรรณี  ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พุทธศักราช 2564

     
 ฐานศิลปะ 7 เทคนิคสถาปัตยกรรม  (50 คน)
  • นางสาววนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) พุทธศักราช 2546

     
 ฐานศิลปะ 8 การสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ (เรื่องสั้น) (70 คน)
  • นางชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2557

     
 ฐานศิลปะ 9 การสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) (70 คน)
  • นายไพวรินทร์  ขาวงาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พุทธศักราช 2558

     
 ฐานศิลปะ 10 การสร้างงานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (เพลงโคราช) (50 คน)
  • นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช) พุทธศักราช 2564
  • นายบุญสม สังข์สุข อุปนายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้
  • นางสาวลำไย พานิชย์ ศิลปินพื้นบ้านเพลงโคราช

     
ฐานศิลปะ 11 การสร้างงานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (ดนตรีพื้นบ้าน)  (50 คน)
  • นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) พุทธศักราช 2562

     

ฐานศิลปะ 12 การสร้างงานศิลปะการแสดง

(ดนตรี ขับร้อง ประพันธ์เพลง)(70 คน)

  • นายประยงค์  ชื่นเย็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน) พุทธศักราช 2552
  • นายธนิสร์  ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2559
  • นายวินัย พันธุรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) พุทธศักราช 2562

     
ฐานศิลปะ 13 การสร้างงานศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย (120 คน)
  • นางรัจนา  พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) พุทธศักราช 2554
  • ว่าที่ร้อยตรีภัทรกฤษณ์ พุ่มพิพัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะการแสดง (ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลป์)

     

ฐานศิลปะ 14 ศิลปะประเภทงานออกแบบคาแรกเตอร์ 

และอาร์ตทอยดีไซน์ (Art Toy) (50 คน)

  • นายมงคล  กลิ่นทับ ครุศิลปะ รุ่นที่ 6
  • อาจารย์ศศิรดา พันธ์วิเศษศักดิ์ อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ศิลปวัฒนธรรมอีสานเพื่องานออกแบบนิเทศศิลป์  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

     

 

 

โครงการการประกวดหมอเพลงโคราช ครั้งที่ ๗
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการโครงการการประกวดหมอเพลงโคราช ครั้งที่ 7 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖4 เพื่อเสริมสร้างคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ซึ่งภูมิปัญญาในด้านการแสดง “เพลงโคราช” เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทโคราชที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติมาแต่โบราณ เมื่อวันที่ วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔


โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ต่อการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT)
ต่อการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ศูนย์การเรียนรู้ IT Learning Center อาคารบูรณวิทยากร ชั้น ๑ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร (๑๐๐ ไร่) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เพื่อให้เกิดการรับรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน นำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืนในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มูลค่าเพิ่ม มาพัฒนาศักยภาพด้วยกระบวนการตลาดแบบครบวงจร โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่มีกระบวนการทำงานเชิงรุกเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริงอย่างหลากหลายตั้งแต่การศึกษาข้อมูลทางกายภาพและการประเมินศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมด้วยการยกระดับแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมต่อการสร้างอัตลักษณ์และจุดเน้นที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มหกรรมศิลปวัฒนธรรมโคราช “เต๊อะเติน เพลินภูมิ")


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมด้วยการยกระดับแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมต่อการสร้างอัตลักษณ์และจุดเน้นที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหกรรมศิลปวัฒนธรรมโคราช “เต๊อะเติน เพลินภูมิ” ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับ “พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เพียงแห่งเดี่ยวเล่าเรื่องประวัติศาสตร์เมืองนครราชสีมาได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของทั้งมหาวิทยาลัยและจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกิจกรรมหลากหลายภายในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. กิจกรรมทำบุญตักบาตรวิถีไทย
2. กิจกรรมพิธีเปิดอุทยานการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมโคราช (พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เรือนโคราช)
3. กิจกรรม “หนังสือวัฒนธรรมมีชีวิต บอกเล่าอดีต สู่ปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต” โดยนักเขียน นักแต่ง ผู้ทรงคุณค่า ผ่านระบบออนไลน์ ณ แหล่งเรียนรู้ KACL ห้องสมุดสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
4. กิจกรรมการประกวดหมอเพลงโคราช ครั้งที่ 7 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564
5. กิจกรรมการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย “ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน”
6. กิจกรรมตลาดนัดศิลปวัฒนธรรม “กลางเดิ่นเรือนโคราช
การในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ ปลูกฝังค่านิยม และสำนึกในท้องถิ่นและความเป็นไทยให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันเป็นเป้าหมายและอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา
โดยเน้นผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงชุมชนและภาคีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน และนักท่องเที่ยว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป รวมถึงชุมชนอื่นๆ และภาคสังคมที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกต่อการดำเนินโครงการ ก่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลินและมีความสุข ตลอดจนความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม รวมถึงรับรู้ภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ


โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ต่อการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT)
ต่อการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ศูนย์การเรียนรู้ IT Learning Center อาคารบูรณวิทยากร ชั้น ๑ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร (๑๐๐ ไร่) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เพื่อให้เกิดการรับรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน นำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืนในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มูลค่าเพิ่ม มาพัฒนาศักยภาพด้วยกระบวนการตลาดแบบครบวงจร โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่มีกระบวนการทำงานเชิงรุกเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริงอย่างหลากหลายตั้งแต่การศึกษาข้อมูลทางกายภาพและการประเมินศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน