ปรัชญา (Slogan)
แหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม นำภูมิปัญญา พัฒนาคุณค่าสู่สากล
วิสัยทัศน์ ( VISION )
เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำของอีสาน ด้านศิลปวัฒนธรรมและโคราชศึกษา
พันธกิจ (MISSION)
อนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม เผยแพร่ ศึกษา และวิจัยศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น และของชาติ
รวมถึงปลูกฝังคุณลักษณะและค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมแก่สังคม
วัตถุประสงค์พันธกิจ :
- มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุง อนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายครอบคลุมเป้าหมายตามพันธกิจและแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- เพื่อสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับผู้มารับบริการทางศิลปวัฒนธรรม และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของทองถิ่นและของชาติ
- มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกในมิติศิลปวัฒนธรรม สู่การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชนหรือสังคมอย่างมีทิศทาง และมีความต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน :
- มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุง อนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 ของโครงการที่ปรากฏในแผน
- ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการทางศิลปวัฒนธรรมในภาพรวมไม่ต่ำกว่าระดับ 8 และความพึงพอใจแยกตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย แหล่งเรียนรู้ และระบบสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมไม่ต่ำกว่า ระดับ 3.5
- มีพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่แสดงถึงการตระหนักรู้ในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม อาทิ จำนวนผู้ร่วมกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่เพิ่มมากขึ้น หรืองบประมาณและการสนับสนุนที่มากขึ้น หรือนักท่องเที่ยวตลอดจนจำนวนผู้มาใช้บริการทางศิลปวัฒนธรรมที่มากขึ้น
- มีงานวิจัย หรืองานวิชาการ หรือกิจกรรมบริการทางวิชาการทางศิลปวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองได้ของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
แผนยุทธศาสตร์สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พ.ศ. 2562-2565กลยุทธ์ |
|||
กลยุทธ์ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
โครงการ |
|
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ทำนุบำรุง และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ระดับชาติ และนานาชาติ |
|||
1.1 ส่งเสริม สืบสาน ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ |
1.1.1 การดำเนินโครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามแผนปฏิบัติการต่อปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยมีโครงการ/กิจกรรมในระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 โครงการ ที่มีเครือข่ายต่างประเทศเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 6 ประเทศ |
1.1.1.1 เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ 1.1.1.2 การประกวดหมอเพลงโคราชชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 1.1.1.3 การเข้าร่วมแข่งขันโปงลางแห่งประเทศไทย ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 1.1.1.4 ประเพณีบวงสรวงและสมโภชศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์ 1.1.1.5 ตักบาตรวันพุธ ปีที่ 19 1.1.1.6 กิจกรรมทางศาสนาประจำปี พ.ศ. 2561-2562 1.1.1.7 การส่งเสริมความรักสามัคคีความมีระเบียบวินัย เข้าใจในสิทธิน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 1.1.1.8 กิจกรรมจิตอาสา สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1.1.9 โครงการเรียนรู้ อยู่ได้ภายใต้ความแตกต่าง “พหุวัฒนธรรม” 1.1.1.10 โครงการอนุรักษ์ภาษาโคราช “การประกวดละครภาษาโคราชและโฟล์คซองภาษาโคราช” |
|
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมต่อการจัดการศึกษาและการท่องเที่ยวชุมชน |
|||
2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้และระบบสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมให้เป็นอุทยานการเรียนรู้ที่มีศักยภาพต่อการจัดการเรียนรู้และการท่องเที่ยวของชุมชน 2.2 การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของบัณฑิตในมิติศิลปะและวัฒนธรรม |
2.1.1 การดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ตลอดจนระบบสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ สะดวก ถูกต้อง ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 โครงการ/กิจกรรม/ระบบหรือฐานข้อมูล 2.1.2 ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของผู้มาใช้บริการแหล่งเรียนรู้และระบบสารสนเทศไม่ต่ำกว่า 4.00 ในแต่ละด้าน 2.2.1 ผลงานนักศึกษาในมิติศิลปะและวัฒนธรรม (องค์ความรู้ นวัตกรรมหรือผลงานจากการประกวดหรือแข่งขัน) |
2.1.1.1 การปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมต่อการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้และการให้บริการกับนักท่องเที่ยวรวมถึงผู้มาใช้บริการ 2.1.1.2 การพัฒนาและปรับปรุงสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในมิติศิลปวัฒนธรรม 2.2.1.1 การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาเช่น ชมรมวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง กิจกรรมกลางเดิ่นเรือนโคราช อบรมมัคคุเทศก์ศิลปวัฒนธรรม |
|
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ศึกษา วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรม |
|||
3.1 ยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม 3.2 พัฒนาผลงานวิจัย งานวิชาการหรือนวัตกรรมทางศิลปวัฒนธรรมต่อการพัฒนาท้องถิ่น |
3.1.1 จำนวนงานวิจัยหรือผลงานวิชาการตลอดจนงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้รับการเผยแพร่ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ผลงาน 3.2.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมต่อการเพิ่มมูลค่าหรือความเข้มแข็งของชุมชนในมิติทางเศรษฐกิจ |
3.1.1.1 การวิจัย พัฒนาผลงานวิชาการหรือผลงานสร้างสรรค์ในมิติศิลปะและวัฒนธรรม 3.1.1.2 โครงการพัฒนาวารสารวิชาการทางศิลปวัฒนธรรม “หน่าใสก่วง” 3.1.1.3 การปรับปรุงห้องสมุดสำนักศิลปวัฒนธรรม
3.2.1.1 โครงการกลางเดิ่นเรือนโคราชและตลาดนัดวิถีชุมชน 3.2.1.2 การสำรวจผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในมิติเศรษฐกิจและการพัฒนาท้องถิ่น |