ข้อ |
เกณฑ์มาตรฐาน |
ผลการดำเนินงาน |
หลักฐาน |
1 |
มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) |
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการดำเนินงานในโครงการ “การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย”ตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- 1. Plan หรือการวางแผน สำนักฯ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏตามแบบเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา งบประมาณ 250,000 บาท (สวธ. 5.2.4-1)
- Do หรือการปฏิบัติ สำนักฯ มีการวางแผนและดำเนินงานตามโครงการ โดยมีกรอบการ ดำเนินงาน
ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ 2872/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน“การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย” (สวธ. 5.2.4-2)
- Check หรือการตรวจสอบ สำนักฯ มีกระบวนการในการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน
อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและรายงานผลความพึงพอใจดังปรากฏในรายงานสรุปโครงการฯ (สวธ. 5.2.4-3)
- Action หรือการดำเนินการให้เหมาะสม สำนักฯ มีการสรุปผลการดำเนินงานโดยมีผลการดำเนินงาน
เฉลี่ย (Mean) อยู่ที่ 80.3 และมีผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมในระดับ “มาก” จากผลการดำเนินงานดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม (สวธ. 5.2.4-4) |
สวธ. 5.2.4-1
สวธ. 5.2.4-2
สวธ. 5.2.4-3
สวธ. 5.2.4-4 |
แบบเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
คำสั่ง ที่ 2872/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน“การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย”
รายงานสรุปโครงการอบรมเสวนา : เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พิมาย/แบบประเมินโครงการ
รายงานสรุปโครงการอบรมเสวนา : เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พิมาย/การประเมินผลการดำเนินงาน |
2 |
บรรลุเป้าหมายตามแผนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 |
สำนักฯ มีการกำหนดเป้าหมายหรือผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ “การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พิมาย” ตามโครงการที่ได้เสนอต่อมหาวิทยาลัยทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพมีรายละเอียดดังนี้
- มีการดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 20 - 21 เดือนกันยายน 2555 ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายมีผู้เข้าร่วม
โครงการจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (สวธ. 5.2.4-5)
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และผู้นำชุมชน ข้าราชการครู ข้าราชการเทศบาล มีความพึงพอใจในการดำเนินงานเฉลี่ย (Mean) อยู่ที่ 8.03 หรือร้อยละ 80.3 ซึ่งบรรลุเป้าหมายเกินร้อยละ 80 เช่นกัน (สวธ. 5.2.4-5)
|
สวธ. 5.2.4-5 |
รายงานสรุปโครงการอบรมเสวนา : เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พิมาย/แบบประเมินโครงการ |
3 |
มีประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อคนในสถาบัน |
สำนักฯ มีการดำเนินโครงการ “การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย”ของสำนักฯ มีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมคือ บุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอก ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ข้าราชการครู ข้าราชการเทศบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ แก่ผู้นำชุมชน ประชาชน บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล บุคลากรทางเทศบาล และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้ในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุและสิ่งแวดล้อม และเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด
จะเห็นได้ว่าโครงการ “การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย” ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์แต่เป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องที่ตระหนักถึงความสำคัญประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ความสำคัญของการอนุรักษ์ และก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อคนในชุมชนอย่างแท้จริง (สวธ. 5.2.4-6) |
สวธ. 5.2.4-6 |
แบบเสนอโครงการ รายงานสรุปโครงการอบรมเสวนา เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิมาย : แบบเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 |
4 |
มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน |
สำนักฯ มีสิ่งที่ใช้ชี้วัดผลกระทบที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อชุมชนหรือสังคม ซึ่งเป็น เรื่องนามธรรม ที่เจาะจงตัวชี้วัดเชิงประจักษ์ได้ประกอบด้วย (สวธ. 5.2.4-7)
- เป็นกิจกรรมที่กระทำต่อเนื่องมา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุง
รัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ.2546 โดยได้รับการจัดงบประมาณสนับสนุนมาโดยตลอด
- ผู้นำชุมชน ประชาชน บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล บุคลากรทางเทศบาล และบุคลากร
ทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ให้มีความรู้และเข้าใจในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุและ
สิ่งแวดล้อม
- เกิดการถ่ายทอดความรู้ ด้านการอนุรักษ์ สู่ผู้นำชุมชนระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
ประชาชนในท้องถิ่น และอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
- เกิดการประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด
- มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
- ผลการดำเนินงานจากการประเมินผลอยู่ในระดับ “มาก” ทั้งในภาพรวมของการดำเนินงานและแยก
ตามรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม |
สวธ. 5.2.4-7 |
รายงานสรุปโครงการอบรมเสวนา : เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พิมาย แบบเสนอโครงการฯ ดังปรากฏในแบบเสนอโครงการวัตถุประสงค์และผลสรุปการดำเนินงาน |
5 |
ได้รับการยกย่องระดับชาติและ/หรือนานาชาติ |
สำนักฯ ได้รับรางวัลยืนยันความสำเร็จในการเผยแพร่ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมากมาย ดังนี้
- ได้รับการคัดเลือกจากส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มปานกลาง (สวธ. 5.2.4-8)
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม มอบรางวัล หน่วยงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น เนื่องจากผลงานด้านการเป็นตัวกลางสำคัญในการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ศิลปะ ประเพณี และศาสนา อย่างต่อเนื่อง (สวธ. 5.2.4-9) |
สวธ. 5.2.4-8
สวธ. 5.2.4-9 |
หนังสือราชการจากกระทรวงวัฒนธรรมที่ วธ 0507.5/ว 4789 เรื่องโครงการศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชในพื้นที่ทั่วประเทศ ประจำปี 2555
รางวัลจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |