ข้อ |
เกณฑ์มาตรฐาน |
ผลการดำเนินงาน |
หลักฐาน |
1 |
มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
1. ได้สร้างระบบและกลไกในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพ โดยประชุมกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงแนวปฏิบัติในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยให้ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นงานที่สำนักจะต้องดำเนินการให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักขึ้น (สวธ. 9.1-1) เพื่อกำหนดนโยบายในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย (สวธ. 9.1-2) และมีการประชุมเพื่อมอบหมายภารกิจด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน (สวธ. 9.1-3) |
สวธ. 9.1-1
สวธ. 9.1-2
สวธ. 9.1-3 |
คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ 3654/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2554
รายงานการประชุมกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 7 /2554 วันที่ 16 สิงหาคม 2554 |
2 |
มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน |
2. ได้มีการประชุมบุคลากรและกำหนดนโยบายในบุคลากรทุกคนถือว่างานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของงานปกติ โดยให้มีการวางแผนการดำงานในสวนภาระงานของตนที่รับผิดชอบ ดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ มีการตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงผลงานที่ได้ปฏิบัติว่าลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ (สวธ. 9.1-4,สวธ. 9.1-5, สวธ. 9.1-6) |
สวธ. 9.1-4
สวธ. 9.1-5
สวธ. 9.1-6 |
รายงานการประชุมกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 7 /2554 วันที่ 16 สิงหาคม 2554
รายงานการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ 9 /2554 วันที่ 19 กันยายน 2554
รายงานผลการประเมินตนเอง รอบ 6 เดือน |
3 |
มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน |
3. ได้สร้างมาตรฐานในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามภารกิจโดยการกำหนดตัวบ่งชี้เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างอัตลักษณ์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของบรรพชนคนโคราช โดยมีเกณฑ์ในการประเมินในแต่ละตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน สามารถวัดระดับคุณภาพตามเป้าหมายและเป็นเกณฑ์นำไปสู่การปรับปรุงได้ |
|
|
4 |
มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน |
4. ได้นำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในการดำเนินงานโดยได้มีการประชุมวางแผนการก่อนการดำเนินงานทุกโครงการและมอบหมายเป็นนโยบายให้ผู้รับผิดชอบได้นำวงจร PDCA มาใช้ในการดำเนินงานและนำผลการประเมินงานโครงการมาใช้ในการปรับปรุงระบบและกลไกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้จัดทำรายงานประจำปี ที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่ สกอ.กำหนดใน cheQA (สวธ. 9.1-7) |
สวธ. 9.1-7 |
รายงานการประชุมในรอบปีการศึกษา 2554 |
5 |
มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้
|
5. มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ตามแผนกลยุทธ์นำผลจากการประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ไปวิเคราะห์ปัญหาแนวทางแก้ไขปัญหาและนำเสนอต่อกรรมการบริหารสำนักฯทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ/กิจกรรม (สวธ. 9.1-8,สวธ. 9.1-9) |
สวธ. 9.1-8
สวธ. 9.1-9 |
รายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมโครงการทุกโครงการในรอบปี 2554
รายงานการประเมินตนเองของสำนัก ปี 2553 |
6 |
มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ |
6. ได้จัดทำฐานข้อมูลที่เป็นระบบสารสนเทศที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านการสนับสนุนการสอน การวิจัย การเงิน การบริหารจัดการและเป็นมูลในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (สวธ. 9.1-10) |
สวธ. 9.1-10 |
เว็บไซต์สำนัก/มหาวิทยาลัย |
7 |
มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน |
7. ได้จัดประชุมบุคลากรเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สำนักฯต้องรับผิดชอบแทนมหาวิทยาลัย และร่วมกันวิเคราะห์เกณฑ์การประเมินแต่ละตัวบ่งชี้และมอบหมายภารกิจหน้าที่เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ (สวธ. 9.1-114,สวธ. 9.1-12) |
สวธ. 9.1-11
สวธ. 9.1-12
|
รายงานการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ 2 /2555 วันที่ 2 มกราคม 2555
รายงานผลการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม |
8 |
มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน |
8. ส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจแนวทางในการสร้างระบบการเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพระนครและมีการประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์ เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานทางวัฒนธรรมและได้ทำความตกลงร่วมมือกันเพื่อสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพระหว่างสถาบัน (สวธ. 9.1-12,สวธ. 9.1-13) |
สวธ. 9.1-13
สวธ. 9.1-14 |
คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ 834/2555 เรื่อง ให้บุคลากรไปราชการ
หนังสือเชิญร่วมงานจาก มร.สงขลา,มร.เพชรบุรี,มร.สวนสุนันทา,มร.นครสวรรค์
|
9 |
มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ |
|
|
|