Close
ข้อมูลแหล่งศิลปกรรม

Previous     34   35   36   37   38       Next

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่ 1
รายละเอียดภาพ : ปราสาทประธาน ปรางค์พลสงคราม ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อแหล่ง

ปรางค์พลสงคราม

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


ชื่อหมู่บ้าน พลสงคราม ตำบล พลสงครามอำเภอ โนนสูง จังหวัด นครราชสีมา
หมายเหตุ : -

ปรางค์พลสงคราม ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านพลสงคราม ตำบลพงสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นศาสนสถานในคติพุทธศาสนามหายาน ประเภทอโรคยศาล ได้รับการบูรณะเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ถึง ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา กรมศิลปากร มีสภาพโดยทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นปราสาทที่ก่อด้วยศิลาแลงและศิลาทรายประกอบไปด้วย ปราสาทประธาน ๑ หลังภายในห้องครรภคฤหะพบฐานประติมากรรมหินทรายด้านบนประดิษฐานเทวรูปจำลอง ๓ พระองค์ชาลาดำเนิน ๑ แห่ง ปรากฏหลุมเสาเรียงตามขอบของชาลาดำเนินซึ่งมีการขุดค้นพบเศษหลังคา กระเบื้องดินเผา และบราลีดินเผา บรรณาลัย ๑ แห่ง ภายในพบแท่นประดิษฐานรูปเคารพ ๑ ชิ้น ส่วนโคปุระพบแท่นประดิษฐานรูปเคารพ ๒ ชิ้น และมีกำแพงแก้วโดยรอบ ทางทิศใต้ของตัวปราสาทมีป้ายบอกประวัติความเป็นมาของปราสาทและวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบปัจจุบันได้จัดเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ปรางค์พลสงครามเป็นศาสนสถานในคติพุทธศาสนายมหายานประเภทอโรคยศาล สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นหนึ่งในอโรคยาศาล ๑๐๒ แห่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ให้ประชาชนขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเพื่อเป็นสถานที่รักษาคนเจ็บป่วยทุกชนชั้น ภายในอโรคยศาลประกอบไปด้วย ปราสาทประธานที่ประดิษฐานพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา และพระโพธิสัตว์บริวาล ชาลาดำเนินที่ทอดยาวจากโคปุระไปยังปราสาทประธาน บรรณาลัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระโพธิสัตว์อีกทั้งยังเป็นที่เก็บตำราต่าง ๆ มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวปราสาทมีโคปุระ ๑ แห่ง เชื่อมต่อเป็นประตูทางเข้าออก ซึ่งปรางค์พลสงครามได้ถูกทิ้งร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๖จึงมีการขุดแต่งและบูรณะจากสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา กรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๒ให้มีสภาพสมบูรณ์ วัตถุโบราณที่ขุดพบได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งในปัจจุบันมีความสำคัญ คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน
Previous     34   35   36   37   38       Next

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม