สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ นั้น เช่น วรรณศิลป์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาไทย สถาปัตยกรรม ดนตรีไทย และพุทธศาสนา รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสร้างสรรค์ และธำรงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดต่อไปถึงลูกหลาน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย” และในปี พ.ศ. 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าถวายพระสมัญญา “วิศิษฏศิลปิน” อันมีความหมายว่า ทรงมีพระอัจฉริยภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นปราชญ์ที่มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมในด้านต่างๆ

On the occasion of HRH Princess Sirindhorn’s 30th birthday on April 2, 1985 the Cabinet led by Gen. Prem Tinsulanonda, who was the Prime Minister at that time, voted in the meeting on February. 26, 1985 to announce the date of April 2 every year to be “Thai Heritage Conservation Day” in honour of HRH Princess Sirindhorn for her attempt to conserve a variety of national heritage such as Buddhism, Thai language, Literary work, History, Archeology, Art work, Thai Architecture and Thai music.


When the birthday anniversary comes around every year, Thai people remember her activities in conserving Thai heritage and follow Her Royal Highness’s work in creating and conserving national heritage for next Thai generation. Her reputation and works will be recorded in Thai history in the field of heritage conservation. She works with a great effort to benefit the nation and people in conserving culture and art which are a valuable heritage of Thailand.

เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ 2559
เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Korat International Arts and Culture Festival 2016
The Celebration of Her Royal Highness, Princess Maha Chakri Sirindhorn
23th – 26th January 2016 at Nakhon Ratchasima, Thailand


เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ 2559 เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการรวมตัวของศิลปินและคณะนักแสดงจากประเทศต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลก ที่จะเข้าร่วมเพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมประจำชาติให้คนไทยและต่างประเทศเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์ เชื่อมโยงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ กล่าวได้ว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการลดกำแพงกั้นระหว่างวัฒนธรรมที่มีความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกันอยู่อย่างมากมายลงได้ ด้วยการเฉลิมฉลองและแบ่งปัน เจตจำนงเดียวกัน คือ การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่นของแต่ละประเทศที่ควรค่าแก่การชื่นชมและเรียนรู้ และร่วมเฉลิมฉลองในวาระแห่งปฐมฤกษ์ของการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23 – 26 มกราคม 2559 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นับเป็นเทศกาลทางศิลปะและวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาที่จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2

โดยในปี พุทธศักราช 2559 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และได้รับความสนับสนุนด้วยดีเสมอมาจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และเทศบาลนครนครราชสีมา
โดยกิจกรรม มีขึ้นในระหว่างวันที่ 23 - 26 มกราคม 2559 ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประกอบด้วย
  • การแสดงทางวัฒนธรรมจากทั่วโลกกว่า 10 ประเทศ อาทิ รัสเซีย กานา จีน มาเลเซีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และเมียนม่า

  • การแสดงทางวัฒนธรรมจาก 4 ภาคของไทย และการแสดงวัฒนธรรมของชาวโคราช อาทิ รำโทนโคราช และเพลงโคราช

  • นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา

  • นิทรรศการทางศิลปะและวัฒนธรรมจากโปรแกรมวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สถานที่จัดงาน เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ
The venue of Korat International Arts and Culture Festival
เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ
ตราสัญลัษณ์เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ
ออกแบบโดย คุณนายสมชาย นิลแก้ว
 
แนวคิด และแรงบันดาลใจในการออกแบบ
โคราชเป็นประตู่สู่ภาคอีสาน คำขวัญประจำจังหวัด คือ ”ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน” จากอดีตถึงปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าไหมได้สะท้อนภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีความหลากหลายในศิลปวัฒนธรรมประเพณีทางสถาปัตยกรรม อาทิ ปราสาทหินพิมาย เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผ้าไหม เครื่องดนตรี (แคน) ย่าโมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพศรัทธาของชาวโคราช และประชาชนชาวไทยทั่วไปอีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด รวมถึงเขาใหญ่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประกอบสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวโคราช ให้มีความอุดมสมบูรณ์... คือ สายน้ำลำตะลอง ปรากฏเป็นอัตลักษณ์ของโคราช จึงนำมาจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับตราสัญลักษณ์ “เทศกาลโคราชศิลปะและวัฒนธรรมนานาชาติ 2559”
 
 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อาคาร 10 ชั้น 1 เลขที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โทร 044 - 009 009 ต่อ 1013
Art & Culture Center of Nakhon Ratchasima Rajabhat University.