ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม นครราชสีมา

Close

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่
รายละเอียดภาพ : สะพานเชื่อเกาะซึ่งเป็นสะพานเดินข้ามน้ำ เพื่อเข้าไปยังบริเวณพระอุโบสถ์ อยู่ด้านทิศตะวันตก

ชื่อแหล่ง

วัดพระนารายณ์มหาราช, วัดกลางหรือวัดกลางนคร

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา
พระอุโบสถได้รับการบูรณะส่วนหลังคาและทาสีใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยชาวนครราชสีมา และเมื่อประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางวัดได้รื้อพระอุโบสถดังกล่าวลง

พระอุโบสถกลางน้ำในปัจจุบัน ตัวของพระอุโบสถได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดโดยสร้างทับฐานเดิมของพระอุโบสถเก่า รูปแบบของอาคารยังมีการลอกเลียนแบบมาจากรูปแบบเดิมอยู่บ้าง โดยหลังคาจะเป็นแบบหน้าจั่วลดหลั่นสามชั้น ทางด้านทิศตะวันออกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ฝาผนังเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร มีประตูสามบาน ส่วนทางด้านทิศตะวันตกทางเดินจากสะพาน หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฝาผนังเป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวก มีประตูสองบาน บริเวณรอบๆพระอุโบสถมีใบเสมาที่ล้อมรอบจำนวนแปดใบ ฐานของระอุโบสถเริ่มทรุดเนื่องจากน้ำกัดเซาะ ที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ก่อด้วยอิฐโบกปูน ในปัจจุบันบริเวณบรรจุอัฐินั้นได้ถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถด้านหลังกุฏิของพระภิกษุสงฆ์วัดพระนารายณ์
ในปัจจุบันพระอุโบสถกลางน้ำได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่แทนของเดิมที่ผุพังแต่สร้างบนฐานเดิมดังนั้นตัวของอุโบสถในปัจจุบันจึงไม่ค่อยแข็งแรงเพราะพระอุโบสถนั้นถูกสร้างมานานมากแล้วบวกกับถูกน้ำกัดเซาะ ตัวหลังคาจะเป็นแบบหน้าจั่วลดหลั่นสามชั้นทางด้านทิศตะวันออกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ฝาผนังเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร มีประตูสามบาน ส่วนทางด้านทิศตะวันตกทางเดินจากสะพาน หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฝาผนังเป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวก มีประตูสองบาน บริเวณรอบๆพระอุโบสถมีใบเสมาที่ล้อมรอบจำนวนแปดใบ และปัจจุบันพระอุโบสถมีความสวยงามเป็นอย่างมากรวมทั้งใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในส่วนของที่บรรจุอัฐิคุณหญิงโม ก่อด้วยอิฐโบกปูน ในปัจจุบัน ที่บรรจุอัฐินั้นได้หายไปแล้วส่วนพื้นที่บรรจุอัฐิได้ถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถและซักผ้าหยอดเหรียญซึ่งตั้งอยู่หลังกุฏิของพระภิกษุสงฆ์คณะที่หนึ่งวัดพระนารายณ์ ซึ่งสถานที่ดังกล่าวประชาชนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะไม่มีอัฐิของคุณหญิงโมแล้ว

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม