Close
ข้อมูลแหล่งศิลปกรรม

Previous     46   47   48   49   50       Next

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่ 1
รายละเอียดภาพ : ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคูเมือง เมืองพลับพลา

ชื่อแหล่ง

เมืองถ่ายจาน หรือเมืองไทยจาน

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน ใหม่พุทไธจารย์ ตำบล งิ้ว อำเภอ ห้วยแถลง จังหวัด นครราชสีมา
๑) ได้เคยพบซากโบราณสถานสมัยลพบุรี (ปราสาทหิน) หลายแห่งอยู่ในบริเวณที่ ใกล้เคียงกับเมืองโบราณ ๒) ปัจจุบัน บ้านใหม่ไทยจาน เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านใหม่พุทไธจารย์

เมืองถ่ายจานเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ของราชพัสดุ สภาพคูน้ำคันดินบริเวณเมืองถ่ายจานยังคงหลงเหลือให้เห็นสภาพคูน้ำและคันดินทั้ง ๓ ชั้นโดยเฉพาะในด้านทิศตะวันตกส่วนแนวคันดินชั้นนอกสุดทางทิศตะวันตกติดกับหมู่บ้านใหม่พุทไธจารย์ถูกตัดผ่านเป็นถนนทางหลวง ด้านในถูกปรับให้เป็นพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน เช่น ทำไร่ ทำนา ทำโรงเพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ และด้านทิศตะวันออกแทบไม่เหลือสภาพของแนวคันดินเพราะเป็นพื้นที่การเกษตรเช่นกัน แต่ยังมีการพบซากหินศิลาแลงบ้างบางส่วน
แหล่งโบราณสถานเมืองถ่ายจานแห่งนี้เป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๓ ชั้น สันนิฐานว่าเป็นเมืองตั้งแต่สมัยทวารวดีที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันพื้นที่นี้กลายเป็นแหล่งในการทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้าน ซึ่งมีการจับจองเป็นเจ้าของพื้นที่มาตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงรุ่นปัจจุบัน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่ของราชพัสดุ เนื่องจากมีการปรับพื้นที่เพื่อให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ทำไร่มันสำปะหลัง ทำนา จึงทำให้คูน้ำคันดินบางส่วนไม่สมบูรณ์ รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศที่มีการกัดเซาะพื้นที่มาอย่างยาวนาน จึงทำให้เกิดการพังทลายในด้านทิศตะวันออกไปเกือบทั้งหมดจนแทบไม่เหลือสภาพแนวคันดิน จึงทำให้มองเห็นแนวคูน้ำคันดินชัดเจนเฉพาะในด้านทิศตะวันออกที่ติดกับหมู่บ้านตั้งแต่แนวคันดินชั้นนอกสุดที่ถูกตัดถนนผ่านคันกำแพงดิน อีกทั้งยังไม่มีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้เป็นเพียงพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่รกร้าง
Previous     46   47   48   49   50       Next

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม