Close
ข้อมูลแหล่งศิลปกรรม

Previous     26   27   28   29   30       Next

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่ 1
รายละเอียดภาพ : ปราสาทประธานของปราสาทหินพิมาย

ชื่อแหล่ง

เมืองพิมาย

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน - ตำบล ในเมืองอำเภอ พิมาย จังหวัด นครราชสีมา
ตามทะเบียนโบราณสถานที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๓๔ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ ได้แยกทะเบียนโบราณสถานเมืองพิมาย ประตูเมืองทิศทั้ง ๔ ประตู และเมรุพรหมทัต ออกต่างหากเป็นแห่งละทะเบียน ดังในหนังสือทะเบียนโบราณสถานฉบับนี้จึงได้นำโบราณสถานเหล่านี้มารวมอยู่ด้วยกันในทะเบียน “เมืองพิมาย” ทั้งนี้เนื่องจากโบราณสถานเหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกันในการเป็นเมืองพิมายโบราณขึ้นมา และเป็นพื้นฐานสำหรับโครงการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ ที่จะดำเนินการที่เมืองพิมายต่อไป ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๔)

เมืองพิมาย เป็นเมืองที่มีกำแพงแก้มล้อมรอบและมีประตูทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งแผนผังเมืองหันหน้าไปทางทิศใต้ มีประตูชัยเป็นประตูทางเข้าเมือง ปัจจุบันประตูเมืองทางทิศตะวันออกและกำแพงแก้วที่ล้อมรอบเมืองได้ถูกรุกล้ำและสูญหายไปเกือบหมดแล้ว ภายในตัวเมืองพิมายมีโบราณสถานหลายแห่ง กล่าวคือ บริเวณกึ่งกลางของเมืองเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) ซึ่งเป็นกลุ่มปราสาทขนาดใหญ่ภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่ได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงาม นอกจากนี้ยังเมรุพรหมทัตซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สมัยอยุธยา แต่อยู่ในสภาพเนินดินขนาดใหญ่ที่ขาดการบูรณะ นอกจากนี้ ภายในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการและบ้านเรือนของประชาชนเต็มพื้นที่ของเมือง
เมืองพิมาย เป็นเมืองที่มีกำแพงแก้มล้อมรอบและมีประตูทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งแผนผังเมืองหันหน้าไปทางทิศใต้ มีประตูชัยเป็นประตูทางเข้าเมือง ปัจจุบันประตูเมืองทางทิศตะวันออกและกำแพงแก้วที่ล้อมรอบเมืองได้ถูกรุกล้ำและสูญหายไปเกือบหมดแล้ว ภายในตัวเมืองพิมายมีโบราณสถานหลายแห่ง กล่าวคือ บริเวณกึ่งกลางของเมืองเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) ซึ่งเป็นกลุ่มปราสาทขนาดใหญ่ภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่ได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงาม นอกจากนี้ ยังเมรุพรหมทัตซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สมัยอยุธยา แต่อยู่ในสภาพเนินดินขนาดใหญ่ที่ขาดการบูรณะ
Previous     26   27   28   29   30       Next

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม