Close
ข้อมูลแหล่งศิลปกรรม

Previous     8   9   10   11   12       Next

ข้อมูลของแหล่งศิลปกรรม

ภาพประกอบ

ลำดับที่ 1
รายละเอียดภาพ : ด้านทิศใต้ของสิม พระธาตุองค์ใหญ่และพระธาตุองค์เล็ก วัดหน้าพระธาตุ

ชื่อแหล่ง

วัดหน้าพระธาตุ

ประเภทแหล่งเรียนรู้

แหล่งศิลปกรรม


หมู่บ้าน ตะคุ ตำบล ตะคุ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา
หมายเหตุ : -

ในปัจจุบันวัดหน้าพระธาตุ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตะคุ เป็นกลุ่มของโบราณสถานที่ประกอบด้วยพระธาตุ ๒ องค์ (องค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และอีกองค์หนึ่งมีขนาดเล็กกว่า) ศิลปะแบบลาวล้านช้าง มีการประดับปูนปั้น แต่เสื่อมสภาพไปเกือบหมดแล้ว อีกทั้งพระธาตุดังกล่าวตั้งอยู่เบื้องหน้าพระอุโบสถหลังเดิมที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายในและด้านหน้า หน้าบันเป็นลวดลายการแกะสลัก แต่ผุกร่อนและเสื่อมสภาพ อนึ่งมีการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุ (ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม) จากแหล่งโบราณคดีปราสาทสระหิน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงมาเก็นรักษาไว้ด้านหน้าอีกด้วย นอกจากนี้เบื้องหน้าของพระธาตุ มีหอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่บริเวณสระน้ำเก่าของวัด และในบริเวณของวัดยังเก็บรักษากุฏิของปฐมเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นอาคารก่อสร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้อีกด้วย
วัดหน้าพระธาตุ บ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีความสำคัญทางคุณค่าด้านความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา กับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน วัดหน้าพระธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม อีกทั้งมีศิลปะตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีศิลปะอิทธิพลของจีนผสมผสานกับศิลปะแบบไทยดังเห็นได้ชัดเจนในสถาปัตยกรรมพระอุโบสถหลังเก่า อีกทั้งมีตำนานความเชื่อ ความศรัทธาในพระธาตุ สิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยสร้างบ้านแปงเมือง ภายในวัดหน้าพระธาตุ มีโบราณสถาน อาทิ พระอุโบสถหลังเก่า หอไตร องค์พระธาตุ ในปัจจุบันยังคงความงดงามและความสมบูรณ์ทางสถาปัตยกรรม แต่เนื่องด้วยเป็นสถาปัตยกรรมกลางแจ้ง จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ความทรุดโทรม ที่มีปัจจัยจากอากาศส่งผลให้โบราณสถาน ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ปัจจุบันมีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
Previous     8   9   10   11   12       Next

ร่วมอนุรักษ์

" แหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น "

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรม จังหวัดนครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์)
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สนับสนุนงบประมาณการศึกษาค้นคว้าโดย

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม