ใช้เครื่องมือที่ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) คำศัพท์พื้นฐาน และ 3) คำสำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ การเก็บรวบรวมข้อมูลตามจุดเก็บที่กำหนด จำนวน 17 จุดเก็บ และวิเคราะห์คำศัพท์พื้นฐานภาษาถิ่นโคราช จำนวน 16 หมวด ได้แก่ ภูมิประเทศ สัตว์ ที่อาศัยของสัตว์ อวัยวะ สี รสชาติ รูปร่าง คำกริยา การทำอาหาร อุปกรณ์ห้องครัว การเกษตร เครือญาติ วันเวลา ผลไม้ ผัก และตัวเลข วิเคราะห์การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาถิ่นโคราช จำแนกตามแนวคิดของ Prof. William J. Gedney และแสดงแผนที่ภาษาถิ่นโคราชด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
ซึ่งจัดทำงานวิจัยโดย ผศ.กนิษฐา พุทธเสถียร รวมกับ ผศ.ทิพย์วารี สงนอก โดยมีนายพรมงคล นาคดี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม นำมาพัฒนานวัตกรรมต่อยอด เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่การอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นโคราช โดยมี ซึ่ง ผศ.ดร.ณัฐกิตติ์ อินทร์สวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผศ.พิทักษ์ชัย จัตุชัย รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายวิจัยและวิชาการศิลปวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษาโครงการ และควบคุมการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
จากการเก็บข้อมูลคำศัพท์พื้นฐานภาษาถิ่นโคราชจากจุดเก็บข้อมูล 17 จุด โดยให้ผู้บอกภาษาออกเสียงคำนั้นจุดละ 1 คน มีคำศัพท์แบ่งเป็น 16 หมวด รวมจำนวน 371 คำ ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากคำศัพท์พื้นฐานภาษาถิ่นโคราชที่ใช้ในจังหวัดนครราชสีมา
สารสนเทศความเข้มข้นภาษาโคราช
โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา